ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย - Open Government Data of Thailand
ขนาดตัวอักษร |    
ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
คะแนนความนิยม
องค์กร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
facebook   twiter

การศึกษาทางด้านชาติพันธุ์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในด้านชาติพันธุ์สภาวะ (Ethnicity) เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยชี้ให้เห็นคุณสมบัติทางชาติพันธุ์ที่กลุ่มสังคมต่างๆ พยายามค้นหาและอธิบายสถานะตัวตนทางสังคมของตน คำอธิบายดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมีเงื่อนไขของบริบทเป็นองค์ประกอบสำคัญ บริบทต่างๆ เหล่านั้นมีผลต่อการสร้างคำอธิบายตัวตนและฐานะทางชาติพันธุ์ทั้งจากมุมมองของคนนอกและคนใน ช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีตโดยเฉพาะในช่วงสมัยอาณานิคม (colonial period) ทฤษฎีวิวัฒนาการมนุษย์และวิวัฒนาการสังคมได้ครอบงำความรู้ทางชาติพันธุ์ด้วยแนวคิดเรื่องเชื้อชาติ (race) จนเกิดความคิดเรื่องเชื้อชาตินิยม (racism) อันส่งผลอย่างรุนแรงต่อความขัดแย้งทางสังคมในระดับโลก นักมานุษยวิทยาได้พยายามตั้งข้อเสนอให้ใช้คำว่ากลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic group) แทนคำว่าเชื้อชาติ ทำให้เริ่มมีการใช้คำว่าชาติพันธุ์อธิบายกลุ่มสังคมอย่างกว้างขวางขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา
ความคิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อมาในช่วงสมัยหลังอาณานิคม (post-colonial period) ซึ่งเป็นเวลาที่รัฐสมัยใหม่ได้เติบโตและมีบทบาทขึ้นมาก ทำให้รัฐมีอิทธิพลสำคัญต่อคำอธิบายทางชาติพันธุ์ของคนแต่ละกลุ่มเพื่อการสร้างองค์ประกอบของความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกันไป ความคิดที่่ให้ความสำคัญต่อลักษณะสังคมแบบพหุวัฒนธรรม (multiculturalism) ความคิดว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชน (human rights) อันมีผลต่อประเด็นสิทธิทางวัฒนธรรม สิทธิทางชาติพันธุ์ ไปจนถึงความคิดว่าด้วยชนพื้นถิ่นดั้งเดิม (indigenousness) ความคิดเหล่านี้ต่างก็ส่งผลต่อความเคลื่อนไหวและการสร้างคำอธิบายทางชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในกรณีของประเทศไทยเองรัฐได้มีการจัดตั้งสำนักกิจการชาติพันธุ์สังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีหน้าที่หลักเพื่อการยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อเชื้อชาติ สีผิว เชื้อสาย หรือกำเนิดทางชาติหรือชาติพันธุ์ พร้อมๆ ไปกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมสร้างความรู้และความเป็นธรรมทางสังคม จากสภาวะปัจจุบันที่สังคมมีการเปลี่ยนผ่านมาสู่บริบทที่เรียกกันว่าโลกาภิวัฒน์ ซึ่งเกิดขึ้นและดำเนินร่วมไปกับลักษณะของกระบวนการทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ ได้ส่งผลและมีอิทธิพลต่อความเคลื่อนไหวและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังประกอบด้วยมิติความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อน และแน่นอนว่ามีผลกระทบต่อปรากฏการณ์ทางด้านชาติพันธุ์สภาวะของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 มีการแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น 36 กลุ่ม โดยมีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามตระกูลภาษา 5 ตระกูล คือ กลุ่มตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มตระกูลภาษาจีน-ทิเบต กลุ่มตระกูลภาษาออสโตรเนเชี่ยน กลุ่มตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น และมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เมื่อไม่มีผู้รับผิดชอบปรับปรุงข้อมูลในฐานให้ทันสมัย จึงทำให้มีการยกเลิกการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว จากการสรุปปัญหาเกี่ยวกับชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ ของคณะทำงานฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งมี ผศ.ดร.ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะเป็นหัวหน้าโครงการ ได้เสนอในปี พ.ศ.2552 ให้ทำการปรับชื่อเรียกชาติพันธุ์ (Ethnonym) ตามที่คนในใช้เรียกตนเอง (Endonym หรือ Autonym) เพราะชื่อที่คนอื่นเรียก (exonym) มักจะมีนัยความหมายไปในทางเหยียดหยามและมีอคติ ทำให้กลุ่มที่ถูกเรียกด้วยชื่อเหล่านั้นไม่พึงพอใจ ดังนั้น ในปี 2558 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จึงทำการพัฒนาฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศขึ้นใหม่ โดยแนะนำกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อที่กลุ่มเรียกตนเองหรือต้องการให้สังคมเรียก ตลอดจนค้นคว้าวิจัยให้มีเนื้อหาทันสมัย แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน โดยมุ่งหมายที่จะสื่อสารกับสาธารณะ ให้บุคคลทั่วไปมีความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์และรู้จักวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น

Data source cannot be displayed.
ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
มุมมอง :
Visualization
{{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1
ข้อมูลทรัพยากร : {{cur_meta.name}}
วันที่ปรับปรุงไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
วันที่สร้างไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล
รหัสทรัพยากรข้อมูล
รายละเอียด
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลล่าสุด
ข้อมูลเพิ่มเติม
รหัสชุดข้อมูล f4733b75-0ad0-4dad-badc-66dd09dee6c4
กลุ่มชุดข้อมูล ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม
คำสำคัญ ชาติพันธุ์ ประเทศไทย ศมส
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล สาธารณะ
วันที่สร้าง metadata 14 ธันวาคม 2563
วันที่ปรับปรุง metadata 17 มีนาคม 2566
ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ชื่อผู้ติดต่อ ผู้ดูแลระบบ
อีเมลผู้ติดต่อ webmaster@sac.or.th
วัตถุประสงค์ ไม่ทราบ
หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) 1
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
แหล่งที่มา ไม่ทราบ
รูปแบบการเก็บข้อมูล ไม่ทราบ
หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
สัญญาอนุญาต Creative Commons Attributions
ภาษาที่ใช้ ไทย
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่แสดง
ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน เป็น ข้อมูลการขุดสระน้ำในไร่นา ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการบรรเทาสภาพปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ...
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 1 เมษายน 2567  
xlsx csv
-ไม่มีการปรับปรุงข้อมูลใช้อีกชุดที่มีการดึงข้อมูลอัตโนมัติ- พรรณไม้น้ำหรือพืชน้ำ เป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจที่จะนำข้อมูลไปใช้ เป็นข้อมูลประมาณ 100 ชนิดที่ได้นำปลูกในตู้ปลา...
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 20 กุมภาพันธ์ 2567  
csv json
-ไม่มีการปรับปรุงข้อมูลใช้อีกชุดที่มีการดึงข้อมูลอัตโนมัติ- ข้อมูลปลาสวยงามจากห้องสมุดปลาสวยงาม เพื่อให้ประชาชนผู้สนใจได้เข้ามาศึกษาชนิดพรรณปลาสวยงาม...
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 20 กุมภาพันธ์ 2567  
csv json